หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
Program in Agriculture

ความเป็นมา
ของหลักสูตร
สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร
11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างรุนแรง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เป็นแผนที่มุ่งหมายในการพัฒนาคน นำนวัตกรรมมาส่งเสริมภาคเกษตร ลดต้นทุนการผลิต เข้าสู่ประเทศไทย 4.0 พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมด้านกำลังคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่การพัฒนาเศรษฐกิจในทุกด้านนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้านเกษตรศาสตร์ ทั้งภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นที่ต้องการในกลุ่มวิจัยแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาประเทศในทุกภาคส่วน การพัฒนาหลักสูตรได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาตามแผนพัฒนาฉบับนี้ ในด้านการพัฒนาวิชาชีพด้านเกษตรศาสตร์ให้มีศักยภาพสอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
ในยุคปัจจุบัน สภาพสังคมตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นไปอย่างรวดเร็วตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก วิทยาศาสตร์ด้านเกษตรศาสตร์ นอกจากเป็นเครื่องมือวิจัยแล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย ทำให้วิทยาศาสตร์ด้านเกษตรศาสตร์ มีความจำเป็นและเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ การดำเนินธุรกิจทุกสาขาอาชีพ ตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคน จึงมีความจำเป็นที่นักวิทยาศาสตร์ด้านเกษตรศาสตร์ ต้องพัฒนาองค์ความรู้และวิชาการทางวิทยาศาสตร์ด้านเกษตรศาสตร์ อย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์จึงเป็นสาขาหนึ่งที่จำเป็นที่จะต้องพัฒนาขึ้นเพื่อผลิตบุคลากรทางเกษตรศาสตร์สู่ตลาดแรงงาน เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคม อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมให้เป็นไปอย่างเหมาะสมเพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์
ผลกระทบจากข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
12.1 การพัฒนาหลักสูตร
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) จึงเป็นไปเพื่อพัฒนาวิชาการและองค์ความรู้ทางเกษตรศาสตร์ในการพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถ เพื่อออกไปรับใช้สังคม จากผลกระทบของสถานการณ์ภายนอกส่งผลกระทบโดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอน ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจะเน้นพัฒนาศักยภาพของบุคคลในเชิงรุกที่มีศักยภาพและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป
12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ การพัฒนาหลักสูตรจึงเน้นการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม พัฒนาทักษะเชิงปัญญา เน้นการคิดวิเคราะห์ และการใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และเนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนาหลักสูตรจึงคำนึงถึงการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับศาสตร์สากลเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้
โครงสร้างหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า 30 | หน่วยกิต |
---|---|---|
กลุ่มวิชาภาษา | 9 | หน่วยกิต |
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต |
และเลือกอีก | 3 | หน่วยกิต |
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า 94 | หน่วยกิต |
วิชาแกน | 15 | หน่วยกิต |
วิชาเฉพาะด้าน | 71 | หน่วยกิต |
วิชาบังคับ | 51 | หน่วยกิต |
วิชาเลือก | 20 | หน่วยกิต |
วิชาพื้นฐานวิชาชีพและวิชาชีพหรือสหกิจศึกษา | ไม่น้อยกว่า 8 | หน่วยกิต |
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | หน่วยกิต |